|
Travel Infos

อัญมนีแห่งลุ่มน้ำโขง
ประเทศลาว
หรือชื่ออย่างเป็นทางการ คือ
สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
อังกฤษ:
Lao People's Democratic Republic)
เป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ซึ่งไม่มีทางออกสู่ทะเล
มีพื้นที่ 236,800
ตารางกิโลเมตร
มีพรมแดนติดจีนและพม่าทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ
ติดต่อกับเวียดนามทางทิศตะวันออก
ติดต่อกับกัมพูชาทางทิศใต้
และติดต่อกับประเทศไทยทางทิศตะวันตก
คำว่า ลาว ในภาษาอังกฤษ
ในภาษาอังกฤษ คำว่าลาว ที่หมายถึงประเทศสะกดว่า "Laos"
และ ลาวที่หมายถึงคนลาว และภาษาลาวใช้ "Lao"
ในบางครั้งจะเห็นมีการใช้คำว่า "Laotian"
แทนเนื่องจากป้องกันการสับสนกับเชื้อชาติลาว ที่สะกด "Lao
ethnic group"
ลักษณะภูมิประเทศ
ประเทศลาวเป็นประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ซึ่งตั้งอยู่บนใจกลางของคาบสมุทรอินโดจีน
ระหว่างละติจูดที่ 14 - 23 องศาเหนือ ลองติจูดที่ 100 -
108 องศาตะวันออก มีพื้นที่โดยรวมประมาณ 236,800
ตารางกิโลเมตร แบ่งเป็นภาคพื้นดิน 230,800
ตารางกิโลเมตร ภาคพื้นน้ำ 6,000
km²
โดยลาวเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล
เนื่องด้วยตลอดแนวชายแดนของประเทศลาว ซึ่งมีความยาวรวม 5,083
กิโลเมตร ล้อมรอบด้วยชายแดนของประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ
ดังนี้
-
ประเทศจีนทางด้านทิศเหนือ (423 กิโลเมตร)
-
ประเทศไทยทางด้านทิศใต้และทิศตะวันตก (1,754
กิโลเมตร)
-
ประเทศกัมพูชาทางด้านทิศใต้ (541 กิโลเมตร)
-
ประเทศเวียดนามทางด้านทิศตะวันออก (2,130
กิโลเมตร)
-
ประเทศพม่าทางด้านทิศตะวันตก (235 กิโลเมตร)
ความยาวพื้นที่ประเทศลาวตั้งแต่เหนือจรดใต้ยาวประมาณ 1,700
กว่ากิโลเมตร ส่วนที่กว้างที่สุดกว้าง 500 กิโลเมตร
และที่แคบที่สุด 140 กิโลเมตร เนื้อที่ทั้งหมด 236,800
ตารางกิโลเมตร
-
ภูมิประเทศของลาวอาจแบบได้เป็น 3 เขต คือ
-
เขตภูเขาสูง เป็นพื้นที่ที่สูงกว่าระดับน้ำทะเลโดยเฉลี่ย 1,500
เมตรขึ้นไป พื้นที่นี้อยู่ในเขตภาคเหนือของประเทศ
-
เขตที่ราบสูง คือพื้นที่ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ย 1,000
เมตร
ปรากฏตั้งแต่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของที่ราบสูงเมืองพวนไปจนถึงชายแดนกัมพูชา
เขตที่ราบสูงนี้มีที่ราบสูงขนาดใหญ่อยู่ 3 แห่ง ได้แก่
ที่ราบสูงเมืองพวน (แขวงเชียงขวาง),
ที่ราบสูงนากาย (แขวงคำม่วน) และที่ราบสูงบริเวณ (ภาคใต้)
-
เขตที่ราบลุ่ม
เป็นเขตที่ราบตามแนวฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำต่างๆ
เป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดในเขตพื้นที่ทั้ง
3 เขต นับเป็นพื้นที่อู่ข้าวอู่น้ำที่สำคัญของประเทศ
แนวที่ราบลุ่มเหล่านี้เริ่มปรากฏตั้งแต่บริเวณตอนใต้ของแม่น้ำงึม
เรียกว่า ที่ราบลุ่มเวียงจันทน์ ผ่านที่ราบลุ่มสะหวันนะเขด
ซึ่งอยู่ตอนใต้เซบั้งไฟและเซบั้งเหียง
และที่ราบจำปาสักทางภาคใต้ของลาว
ซึ่งปรากฏตามแนวแม่น้ำโขงเรื่อยไปจนจดชายแดนประเทศกัมพูชา
ทั้งนี้
เมื่อนำเอาพื้นที่ของเขตภูเขาสูงและเขตที่ราบสูงมารวมกันแล้ว
จะมากถึง 3 ใน 4 ของพื้นที่ประเทศลาวทั้งหมด
โดยจุดที่สูงที่สุดของประเทศลาวอยู่ที่ภูเบี้ย ในแขวงเชียงขวาง
วัดความสูงได้ 2,817
เมตร (9,242
ฟุต)
ประเทศลาวมีแม่น้ำสายสำคัญอยู่หลายสาย
โดยแม่น้ำซึ่งเป็นสายหัวใจหลักของประเทศคือแม่น้ำโขง
ซึ่งไหลผ่านประเทศลาวเป็นระยะทาง 1,835
กิโลเมตร แม่น้ำสายนี้เป็นแม่น้ำสำคัญทั้งในด้านเกษตรกรรม
การประมง การผลิตพลังงานไฟฟ้า
การคมนาคมจากลาวเหนือไปจนถึงลาวใต้
และการใช้เป็นพรมแดนธรรมชาติระหว่างประเทศลาวกับประเทศเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ แม่น้ำสายสำคัญของลาวแห่งอื่นๆ ยังได้แก่
-
แม่น้ำอู (พงสาลี - หลวงพะบาง) ยาว 448 กิโลเมตร
-
แม่น้ำงึม (เชียงขวาง-เวียงจันทน์) ยาว 354 กิโลเมตร
-
แม่น้ำเซบั้งเหียง (สะหวันนะเขด) ยาว 338 กิโลเมตร
-
แม่น้ำทา (หลวงน้ำทา-บ่อแก้ว) ยาว 325 กิโลเมตร
-
แม่น้ำเซกอง (สาละวัน-เซกอง-อัดตะบือ) ยาว 320 กิโลเมตร
-
แม่น้ำเซบั้งไฟ (คำม่วน-สะหวันนะเขด) ยาว 239 กิโลเมตร
-
แม่น้ำแบ่ง (อุดมไซ) ยาว 215 กิโลเมตร
-
แม่น้ำเซโดน (สาละวัน-จำปาสัก) ยาว 192 กิโลเมตร
-
แม่น้ำเซละนอง (สะหวันนะเขด) ยาว 115 กิโลเมตร
-
แม่น้ำกะดิ่ง (บอลิคำไซ) ยาว 103 กิโลเมตร
-
แม่น้ำคาน (หัวพัน-หลวงพระบาง) ยาว 90 กิโลเมตร
ลักษณะภูมิอากาศ
สปป. ลาวอยู่ในภูมิอากาศเขตร้อน มีลมมรสุมแต่ไม่มีลมพายุ
สำหรับเขตภูเขาภาคเหนือ และ เขตเทือกเขา
อากาศมีลักษณะกึ่งร้อนกึ่งหนาว
อุณหภูมิสะสมเฉลี่ยประจำปีสูงถึง 8,500
- 9,000
องศาเซลเซียส
ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันและกลางคืนมีประมาณ 10
องศาเซลเซียส จำนวนชั่วโมงที่มีแสงแดดต่อปีประมาณ 2,300
- 2,400
ชั่วโมง (ประมาณ 6.3 - 6.5 ชั่วโมงต่อวัน)
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมีประมาณร้อยละ 70 - 85
ปริมาณน้ำฝนในฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถึงตุลาคม) มีร้อยละ
75 - 90 ส่วนในฤดูแล้ง (ตั้งแต่เดือนพฤษจิกายน ถึงเมษายน)
ปริมาณน้ำฝนมีเพียงร้อยละ 10 - 25
และปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีของแต่เขตก็แตกต่างกันอย่างมากมาย
เช่น เขตเทือกเขาบริเวณทางใต้ได้รับน้ำฝนเฉลี่ยปีละ 300
เซนติเมตร ขณะที่บริเวณแขวงเซียงขวาง
แขวงหลวงพะบาง แขวงไซยะบุลี ได้รับเพียงแค่ 100 - 150
เซนติเมตร ส่วนแขวงเวียงจันและสะหวันนะเขดในช่วง 150 - 200
เซนติเมตร เช่นเดียวกับ แขวงพงสาลี
แขวงหลวงน้ำทา และแขวงบ่อแก้ว
เศรษฐกิจ
ภาวะเศรษฐกิจของ สปป.ลาวมีพัฒนาการที่ดีตามลำดับ โดยในช่วง 20
ปีนับตั้งแต่ปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยมสู่ระบบเศรษฐกิจเสรีการตลาดเมื่อปี
2529
สปป.ลาวมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในอัตราเฉลี่ยร้อยละ
6.2 ต่อปี ประชากรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากประมาณ 200
ดอลลาร์สหรัฐเมื่อปี 2529 เป็น 491 ดอลลาร์สหรัฐในปี 2548
ภาคอุตสาหกรรมขยายตัวในอัตราไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 10 ต่อปี
โดยอุตสาหกรรมพลังงานไฟฟ้าเป็นสาขาหลักที่สร้างรายได้ให้แก่ประเทศอย่างไรก็ดี
ลาวยังคงประสบปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข ที่สำคัญได้แก่
ปัญหาราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้น
ปัญหาการขาดดุลการค้าในอัตราสูง ค่าเงินกีบไม่มีเสถียรภาพ
การจัดเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย และปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงทรัพยากรสำคัญของลาว
ได้แก่ ไม้ ดีบุก ยิบซั่ม ตะกั่ว หินเกลือ เหล็ก
ถ่านหินลิกไนต์ สังกะสี ทองคำ อัญมณี หินอ่อน น้ำมัน
และแหล่งน้ำผลิตไฟฟ้า
การลงทุน
การลงทุน
รัฐบาลลาวได้ปรับปรุงกฎระเบียบเพื่อเสริมสร้างบรรยากาศให้เอื้ออำนวยต่อการลงทุนมากยิ่งขึ้น
อาทิ มาตรการด้านภาษี อนุญาตให้นครหลวงเวียงจันทน์ แขวงจำปาสัก
และแขวงหลวงพระบาง
มีอำนาจอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าไม่เกิน 2
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนแขวงอื่น ๆ
สามารถอนุมัติโครงการลงทุนที่มีมูลค่าลงทุนไม่เกิน 1
ล้านดอลลาร์สหรัฐ
ทำให้การลงทุนจากต่างประเทศในลาวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
โดยในปี 2546 มีมูลค่า 465 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปี 2547 มีมูลค่า
533 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และปี 2548 มีมูลค่า 1.6
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นักลงทุนที่สำคัญ ได้แก่ ไทย เวียดนาม
ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย จีน
โครงการความร่วมมือในภูมิภาคใกล้เคียง
-
อาเซียน ลาวเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนเมื่อเดือนกรกฎาคม 2540
ได้เป็นประธาน คณะกรรมการประจำอาเซียนเมื่อกรกฎาคม 2547
-
ยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิระวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง
(Ayeyawady-Chao
Phraya-Mekong Economic
Cooperation Strategy - ACMECS)
-
ความร่วมมือในกรอบสามเหลี่ยมมรกต
การนำเข้าและการส่งออก
สินค้าส่งออกที่สำคัญของลาว ได้แก่เสื้อผ้าสำเร็จรูป ไม้ซุง
ไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ไม้ สินแร่ เศษโลหะ ถ่านหิน หนังดิบ
และหนังฟอก ข้าวโพด ใบยาสูบ กาแฟ โดยส่งออกไปยังประเทศไทย
เวียดนาม ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น เยอรมนี สหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา
เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ส่วนการนำเข้าสินค้า
ประเทศลาวได้นำเข้าสินค้าจากไทย จีน เวียดนาม สิงคโปร์ ญี่ปุ่น
ออสเตรเลีย เยอรมนี โดยสินค้าที่สำคัญได้แก่
รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เครื่องจักรกล
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน อาหาร ผ้าผืน สารเคมี
และเครื่องอุปโภคบริโภค
สื่อสารมวลชน
สื่อในประเทศลาวล้วนอยู่ในความดูแลของรัฐโดยตรง
รัฐบาลลาวมีสำนักข่าวสารประเทศลาว (ขปล.)
เป็นสำนักข่าวแห่งชาติที่เผยแพร่ข่าวของรัฐ
ส่วนหนังสือพิมพ์ภาษาลาวที่สำคัญในประเทศได้แก่
หนังสือพิมพ์ประชาชนซึ่งเป็นกระบอกเสียงของพรรคประชาชนปฏิวัติลาว
และหนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ใหม่
นอกจากนี้ยังมีหนังสือพิมพ์ภาษาต่างประเทศอีก 2 ฉบับ คือ
หนังสือพิมพ์เวียงจันทน์ไทม์ส (Vientiane
Times)
ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ และหนังสือพิมพ์
"เลอเรโนวาเตอร์" (Le Rénovateur)
ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสในประเทศลาวมีสถานีโทรทัศน์เพียง
2 สถานี คือ สถานีโทรภาพแห่งชาติลาว
ซี่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของรัฐ
ออกอากาศผ่านเครือข่ายสถานีในประเทศ
และสถานีโทรภาพลาวสตาร์แชนแนล
ออกอากาศผ่านทางระบบดาวเทียมไทยคม 3
สถานีแห่งนี้เป็นสถานีโทรทัศน์ของเอกชนที่ดำเนินการภายใต้สัมปทานของรัฐ
อนึ่ง
ชาวลาวที่อยู่ตามชายแดนไทยและชาวลาวที่มีฐานะพอจะซื้อจานดาวเทียมได้จะนิยมดูรายการโทรทัศน์ช่องต่างๆ
ของไทยเสียมากกว่าด้านการใช้อินเทอร์เน็ต
ตามหัวเมืองใหญ่และนครหลวงมีการเปิดให้บริการอินเทอร์เน็ตคาเฟ่โดยทั่วไป
และได้รับความนิยมอย่างยิ่งในหมู่เยาวชนรุ่นใหม่ อย่างไรก็ตาม
รัฐบาลลาวก็ได้มีเซ็นเซอร์เนื้อหาและการเข้าถึงข้อมูลอินเทอร์เน็ตอย่างเข้มงวด
ประชากร
จากสถิติในปี พ.ศ. 2548 (ตามข้อมูลกระทรวงการต่างประเทศของไทย)
ประเทศลาวมีประชากรรวม 6,068,117
คน ประกอบด้วยชนชาติต่างๆ หลากหลายเชื้อชาติ
ซึ่งในภาษาลาวจะเรียกรวมกันว่า "ประชาชนบรรดาเผ่า"
สามารถจำแนกได้เป็น 68 ชนเผ่าโดยประมาณ แบ่งเป็น 3
กลุ่มใหญ่ตามถิ่นที่อยู่อาศัย ดังนี้
-
ลาวลุ่ม
หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบ
ส่วนใหญ่ได้แก่คนเชื้อชาติลาว ภูไท ไทดำ ไทลื้อ ฯลฯ
ใช้ภาษาลาวหรือภาษาตระกูลภาษาไทยเป็นภาษาหลัก
ประชาชนกลุ่มนี้มีอยู่ร้อยละ 68
ของจำนวนประชากรทั้งหมดและอาศัยกระจายอยู่ทั่วประเทศ
ถือว่าเป็นกลุ่มชาวลาวที่มีจำนวนมากที่สุดในประเทศ
-
ลาวเทิง
หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตที่ราบสูง เช่น ชาวบรู
มะกอง งวน ตะโอย ตาเลียง ละเม็ด ละเวน กะตัง ฯลฯ
ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทางภาคใต้ของประเทศ เช่น แขวงจำปาสัก
แขวงเซกอง แขวงอัตตะปือ คิดเป็นร้อยละ 22
ของจำนวนประชากรทั้งหมด
-
ลาวสูง
หมายถึงชาวลาวที่อาศัยอยู่ในเขตภูเขาสูง เช่น ชาวม้ง เย้า
มูเซอ ผู้น้อย และชาวเขาเผ่าต่างๆ
ส่วนมากอาศัยอยู่ในเขตภาคเหนือของลาว เช่น แขวงหลวงพระบาง
แขวงเชียงขวาง และตามแนวตะเข็บชายแดนภาคเหนือ
ชาวลกลาวกลุ่มนี้คิดเป็นจำนวนร้อยละ 9
ของจำนวนประชากรทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีชาวลาวเชื้อสายเวียดนามรวมทั้งชาวต่างชาติอื่นๆ
ในลาวคิดเป็นร้อยละ 2 ของจำนวนประชากรทั้งหมดด้วย
ภาษา
ประเทศลาวใช้ภาษาลาวเป็นภาษาประจำชาติทั้งในส่วนของภาษาพูดและระบบการเขียน
ส่วนในกลุ่มชาวลาวเทิงและชาวลาวสูงยังคงมีการใช้ภาษาประจำเผ่าของงตนควบคู่กับภาษาลาว
ส่วนภาษาต่างประเทศอื่นที่มีการใช้ได้แก่ภาษาฝรั่งเศสซึ่งมีการใช้มาตั้งแต่สมัยอาณานิคม
ปัจจุบันยังคงใช้ในวงราชการและการติดต่อค้าขายบ้าง
อีกภาษาหนึ่งที่สำคัญคือภาษาอังกฤษซึ่งใช้ในการติดต่อกับต่างประเทศและการค้า
ซึ่งนับวันการศึกษาภาษาอังกฤษก็ยิ่งจะขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆสำหรับอัตราการรู้หนังสือของลาวนั้น
ประชากรเพศชายรู้หนังสือร้อยละ 67 หญิงร้อยละ 43
เมื่อคิดเฉลี่ยรวมทั้งสองเพศแล้วปรากฏว่าประเทศลาวมีอัตราประชากรที่รู้หนังสือ
ร้อยละ 56
ศาสนา
พระธาตุหลวง กรุงเวียงจันทน์ ศาสนสถานที่สำคัญที่สุดในประเทศชาวลาวส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ
(ร้อยละ 60 ของชาวลาวทั้งหมด)
ควบคู่ไปกับลัทธินับถือผีบรรพบุรุษของชนชาติส่วนน้อยในแถบภูเขาสูง
ส่วนชาวลาวที่นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามมีจำนวนที่ค่อนข้างน้อยมาก
โดยศาสนาคริตส์ส่วนมากจะมีผู้นับถือเป็นกลุ่มชาวเวียดนามอพยพและชาวลาวเชื้อสายเวียดนาม
ส่วนศาสนาอิสลามพบว่ามีการนับถือในหมู่ชนชาติส่วนน้อยจีนฮ่อที่อาศัยตามชายแดนด้านติดกับประเทศพม่า
และมีชุมชนมุสลิมที่มีเชื้อสายเอเชียใต้ และจามในเวียงจันทน์
วัฒนธรรม
วาท นับเป็นแบบแผนหลักของวัฒนธรรมลาว
ซึ่งปรากฏให้เห็นทั่วประเทศ ทั้งในด้านภาษา และศิลปะ วรรณคดี
ศิลปะการแสดง ฯลฯ สำหรับดนตรีลาวนั้นยังมีอิทธิพลของแคน
ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีประจำชาติ วงดนตรีของลาวก็คือวงหมอลำ
มีหมอลำ และหมอแคน
ท่วงทำนองของการขับลำจะแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น
ทางภาคเหนือเรียกว่าขับ ภาคใต้จากบอลิคำไซลงไปเรียกว่าลำ เช่น
ขับงึมเวียงจันทน์ ขับพวนเซียงขวง ลำสาละวันของแขวงสาละวัน
ลำภูไท ลำตังหวาย ลำคอนสะหวัน ลำบ้านซอกของแขวงสะหวันนะเขต
ขับโสม ลำสีพันดอนของแขวงจำปาสัก ลำมะหาไซของแขวงคำม่วน
ขับทุ่มของแขวงหลวงพระบาง ขับลื้อของชาวลื้อ เป็นต้นการแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์
อย่างหนึ่งของลาวคือผู้หญิงจะนุ่งผ้าซิ่น (ผ้าถุง)อาหารของคนลาว
ลาวจะทานข้าวเหนียวเป็นหลัก อาหารที่เป็นเอกลักษณ์คือ แจ่ว
ส้มตำ ไก่ย่าง เป็นต้นอารยธรรมเก่าแก่ของลาวนั้น
มีปรากฏจากหลักฐานด้านโบราณคดียุคหินที่ทุ่งไหหินในแขวงเชียงขวาง
วันสำคัญ
เทศกาลและวันหยุดราชการ
|
วันที่
|
ชื่อภาษาไทย
|
ชื่อภาษาลาว
|
หมายเหตุ
|
1
มกราคม
|
วันขึ้นปีใหม่
|
บุญปีใหม่
|
|
ปลาย ม.ค./ต้น ก.พ.
|
วันตรุษจีน
|
(kou jine)
|
ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติ
|
กุมภาพันธ์
|
วันมาฆบูชา
|
|
ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติ
|
8
มีนาคม
|
วันสตรีสากล
|
|
วันหยุดราชการ
|
ประมาณวันที่
15
เมษายน
|
วันสงกรานต์
|
บุญปีใหม่ลาว
|
เริ่มต้นฤดูฝน
|
1
พฤษภาคม
|
วันแรงงานสากล
|
|
วันหยุดธนาคาร
|
พฤษภาคม
|
วันวิสาขบูชา
|
วิสาขบูชา
|
ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติ
|
พฤษภาคม
|
บุญบั้งไฟ
|
|
fête bouddhique et profane
|
กรกฎาคม
|
วันอาสาฬหบูชา
|
อาสาฬหบูชา
|
ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติ
|
กรกฎาคม
|
วันเข้าพรรษา
|
เข้าพรรษา
|
ขึ้นกับปฏิทินจันทรคติ
|
สิงหาคม
|
บุญข้าวประดับดิน
|
ห่อข้าวปะดับดิน
|
งานทำบุญเพื่อระลึกถึงผู้ล่วงลับไปแล้ว
|
พฤศจิกายน
|
บุญธาตุหลวง
|
|
งานนมัสการพระธาตุหลวงเวียงจันทน์ประจำปี
|
วันเพ็ญแรกในเดือน พ.ย.
|
วันออกพรรษา
|
บุญออกพรรษา
|
สิ้นสุดฤดูฝน
|
2
ธันวาคม
|
วันชาติ
|
|
วันที่ระลึกในการก่อตั้ง สปปล.
เมื่อปี พ.ศ.
2518
|
31
ธันวาคม
|
วันสิ้นปี
|
|
|
|
|
|
|
|